ไปเที่ยววันหยุด แต่ห่วงน้องหมาน้องแมวที่บ้าน หมดห่วงค่ะวันนี้เรานำความรู้และการเตรียมตัวพาสัตว์เลี้ยงแสนรักไปเที่ยวรอบโลกกับครอบครัวด้วยกันเลย สนุกครบทั้งบ้านอะไรๆก็ดีใช่ไหมละค่ะ
การพาสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องมี 2 ประเภท
- นำสัตว์เลี้ยง ขึ้นเครื่องแบบ PETC (Pet In Cabin)
คือเราสามารถนำน้องขึ้นเครื่องไปกับเราได้เลย นั่งในห้องโดยสารกับเราเลย แต่แค่บางประเภทของเครื่องบินนะคะ แต่ที่สำคัญ เจ้าของต้องมีเอกสาร และใบรับรองสุขภาพสำหรับน้องหมาจาก The Animal Quarantien Office ก่อนค่ะ ทางเดินทางแบบนี้สำหรับสัตว์เลี้ยงที่น้ำหนักไม่เกิน 10 กิโลกรัมเท่านั้น โดยต้องรวมอุปกรณ์ใส่น้องแล้วด้วยนะคะ
- นำสัตว์เลี้ยง ขึ้นเครื่องแบบ Check Baggage (AVIH)
สำหรับสัตว์เลี้ยงที่น้ำหนักเกิน 10 กิโลกรัม ต้องเดินทางแบบนี้ค่ะ เราต้องโหลดน้องก่อนขึ้นเครื่อง โดยวิธีการเหมือนโหลดกระเป๋าค่ะ ไปที่จุดเช็คอิน จากนั้นเจ้าหน้าที่จะนำน้องๆไปที่ห้องบรรทุกสัมภาระพิเศษ ที่มีระบบควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะกับสัตว์เลี้ยง รวมไปถึงระบบรักษาความปลอดภัยด้วย เพราะฉะนั้น อุ่นใจได้ค่ะ
สายการบินในประเทศที่นำสัตว์เลี้ยงเดินทางไปด้วยได้มี 3 สายการบิน
- การบินไทย
- นกแอร์
- บางกอกแอร์เวย์ส
เอกสารขออนุญาตส่งสัตว์ไปต่างประเทศ
- สำเนาพาสปอร์ตเจ้าของสัตว์
- สำเนาบัตรประจำตัวผู้ดำเนินพิธีการส่งออก
- สำเนาใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies Vaccination Certificate)
- ถ้าเป็นนก หรือสัตว์ชนิดอื่น ต้องมีเอกสารรับรองการส่งออกจากกรมป่าไม้ หรือมีเอกสาร CITES กำกับ
ขั้นตอนการพาสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบิน
- ติดต่อกับประเทศปลายทาง เพื่อขอทราบเงื่อนไขการนำสัตว์เลี้ยงเขาประเทศ (Requirement)
- นำ Requirement มาขอคำแนะนำจากสัตว์แพทย์ด่านกักสัตว์ เพื่อตรวจโรคสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์และอื่นๆ ตาม Requirement ที่ประเทศปลายทางกำหนด
- กรอกเอกสาร ยืนคำขอส่งสัตว์ออก ไม่น้องกว่า 15 วันก่อนวันเดินทาง ดาวน์เหลดเอกสารได้ที่เว็บ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์
- ต้องทำการจองพื้นที่ หลังจากที่เราจองพื้นที่ของเราเรียบร้อยแล้ว เราต้องบอกพนักงานว่านำสัตย์เลียงมาด้วยเพื่อทำการจับจองพื้นที่ให้สัตว์เลี้ย
- พาสัตว์เลี้ยงไปตรวจสุขภาพอย่างละเอียดก่อนวันเดินทาง 2-3 วัน พร้อมนำหลักฐานการฉีดวัคซีน การตรวจโรคต่างๆ มา มอบแนบขณะยืนคำขอ
- เจ้าหน้าที่สัตว์แพทย์ ออกใบอนุญาตส่งสัตว์ออก (แบบ ร.9) พร้อมเอกสารรับรองสุขภาพสัตว์ (Health Certificate)
- ต้องเขียนเอกสารต่างๆให้ถูกต้องและเป็นภาษาอังกฤษ ต้องเขียนชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งออกฯ และผู้รับปลายทางด้วยถ้ามี
- เสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำสัตว์ออกฯ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499