นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องปัญหาความสัมพันธ์ เขาพูดถึงความรักว่า “ความรัก ก่อตัวจากความรู้สึกเล็กๆ ที่มีต่อกัน ความรู้สึกในระยะนี้จะคงอยู่ได้ไม่นาน จะค่อยๆจางลงไปตามกาลเวลา แต่หากทั้งคู่ช่วยกันดูแลให้ดี มีการปรับตัวและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สิ่งดีๆที่จะเข้ามาแทนก็คือ “ความรู้สึกผูกพันและห่วงใย” ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ยั่งยืนและเป็นพัฒนาการอีกขั้นในความสัมพันธ์ของคู่รัก
1 “ช่วงเวลาสนุกด้วยกัน”
เป็นช่วงที่เก็บเกี่ยวความทรงจำเล็กๆน้อยๆด้วยกันไปเรื่อยๆ เช่นดูหนัง เข้าครัวทำอาหารด้วยกัน ชวนกนออกกำลังกาย เรื่องราวเหล่านี้จะอยู่ในความทรงจำเสมอ และจะพัฒนามากขึ้น
2. “ช่วงที่ต้องรับฟังรู้จักรับฟัง”
บางครั้งแค่ฟังไปเรื่อยๆยังดีซะกว่าการที่คอยขัดจังหวะการพูด เพราะการเสนอทางแก้ในช่วงเวลาที่อีกฝ่ายไม่ได้ต้องการถือว่าเป็นการบ่อนทำลายความสัมพันธ์อย่างหนึ่ง
3 “ช่วงสื่อสารความรู้สึก”
เมื่อเกิดการโต้เถียงหรือขัดแย้ง ณ จุดนั้น บางทีข้อเท็จจริงก็ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญมากนัก แต่การสื่อสารออกไปว่าเหตุการณ์นี้ “เรารู้สึกกับมันอย่างไร” ต่างหากที่จะช่วยให้เราสามารถทำความเข้าใจกันได้
4 “ช่วงที่ต้องพูดให้ตรงกับใจ”
การสื่อสารออกไปตรงๆและชัดเจนว่าสิ่งที่เราต้องการคืออะไร เป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุด ไม่มีใครชอบเล่นเกมส์เดาใจ ไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านบวกและด้านลบ แต่จะต้องเลือกเวลาที่จะนำเสนอให้เหมาะสมถูกกับกาละเทศะ
5 “ช่วยส่งเสริมชีวิตของกันและกัน”
เปิดโอกาสให้คู่ของเราได้เติบโตในแบบของเขา หากสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดี สร้างสรรค์ และไม่ทำร้ายใคร เราสามารถจดรายการข้อดี/พฤติกรมในด้านบวกของคู่เราไว้ ในกรณีที่จิตใจของเขาบอบช้ำหรือมีอุปสรรคในชีวิต ให้นำมันออกมาอ่านเพื่อให้กำลังใจและเตือนสติกับเขาอย่างสม่ำเสมอ
6 “ช่วงทำดีต่อกันทุกวัน”การแสดงความรักและห่วงใย ให้เวลาหรือใส่ใจกับสิ่งเล็กๆน้อยๆอย่างสม่ำเสมอ เรืองเล็กๆน้อยๆแต่หา
กเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็สามารถกลายเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ได้
7 “ช่วงมีฝันร่วมกัน”
การที่คนสองคนมีความฝันร่วมกัน และทำอะไรไปด้วยกันเพื่อให้ฝันนั้นเป็นจริง เป็นสิ่งที่สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้ความสัมพันธ์ได้ และคู่รักควรมีเวลานั่งคุยกันถึงเป้าหมายร่วมกันในชีวิตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
8 “ช่วงมีเวลาให้แก่กัน”
การมีเวลาให้แก่กัน ไม่ได้แปลว่าจะต้องเป็นการออกไปเที่ยวนอกบ้าน หรือทริปแบบยาวๆเสมอไป แค่กลับบ้านเร็วกว่าเดิม เข้านอนเร็วกว่าปกตินิดหน่อย ดับไฟ หันหน้า สบตาถามไถ่กัน แค่นี้ก็สุดยอดแล้ว
9 “ช่วงมีช่องว่างให้กันและกัน”
คนสองคนอาจจะมีสิ่งที่ไม่ได้ชอบตรงกันไปเสียทั้งหมด นั่นเป็นเรื่องธรรมดาและเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกๆคู่เสมอ มันจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้หากเราจะมีสิ่งที่ชอบหรือมีกลุ่มเพื่อนของเราเอง แต่เราเองจะต้องจัดสรรเวลาและความสำคัญก่อนหลังให้ดี
10 “ช่วงชื่นชมในความเหมือน”
เมื่อคนเราเติบโตขึ้น ความคิดเห็น ความสนใจ และประสบการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไปได้ แต่ถ้าคนสองคนต่างก็มีความเชื่อหลักในสิ่งเดียวกันแล้ว การสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนจะเป็นไปได้มากกว่า “หากเรามีสิ่งที่เหมือนกันแล้ว ก็ต้องคงสภาพความสิ่งนั้นนั้นหรือพัฒนามันให้ดีขึ้นเรื่อยๆ”
11 “ช่วงเคารพในความต่าง”
ไม่มีคู่รักคู่ไหนที่จะมีอะไรเหมือนกันไปเสียทั้งหมด คู่ที่ไปด้วยกันได้ดีที่สุดไม่ใช่คู่ที่ชอบอะไรเหมือนกันทุกอย่าง แต่เป็นคู่ที่พยายามเรียนรู้และอยู่กับความต่างโดยไม่ไปเปลี่ยนแปลงอะไรกับมันมากนัก (หากไม่ใช่เรื่องที่ร้ายแรง)
12 “ช่วงจัดการความขัดแย้งให้ดี”
ความขัดแย้งเป็นเรื่องที่คู่รักทุกคู่ต้องมีเป็นธรรมดา ประเด็นจึงอยู่ที่เราจะจัดการมันอย่างไร เพราะหลายครั้งที่การประนีประนอมไม่ช่วยให้ปัญหาคลี่คลาย กุญแจที่สำคัญจึงอยู่ที่การจัดการความขัดแย้งให้ดี ให้การขัดแย้งนั้นเป็นไปอย่างยุติธรรม เช่น “การรับฟัง” “การพูดจาให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ” การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ลองมองในอีกมุมของเขา
Cr. www.winnews.tv
elizabethannphotographyblog.com
boredpanda.com