ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ระบาดอย่างหนักทั่วโลก และกำลังรุนแรงขึ้นอย่างมากในประเทศไทย ทำให้ประเด็นสำคัญอย่างเรื่อง “การฉีดวัคซันป้องกันโควิด” กำลังได้รับความสนใจและเป็นที่พูดถึงอย่างมาก ทำให้หลาย ๆ ตั้งข้อสงสัยต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเพราะถือเป็นเรื่องใหม่ทั้งเรื่องโรคและนวัตกรรมของวัคซีน โดยเฉพาะกลุ่มของคุณแม่มือใหม่ที่กำลังตั้งครรภ์ลูกน้อยอยู่ วันนี้ Bride จึงได้รวบรวมข้อมูลเพื่อให้เหล่าคุณแม่มือใหม่ได้ใช้ประกอบการตัดสินใจก่อนรับวัคซีนกันค่ะ
คนท้องควรฉีดวัคซีนโควิดหรือไม่
กรมอนามัยและราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย แนะนำให้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป หรือมากกว่า 3 เดือน สามารถรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ เพราะมีข้อมูลถึงหญิงตั้งครรภ์ที่ติดโควิดทำให้มีอาการรุนแรง แต่สุดท้ายแล้วให้เป็นการตัดสินใจของคุณแม่เองโดยใช้ข้อมูลช่วยตัดสินใจดังนี้
- ความเสี่ยงหรือโอกาสการติดเชื้อ
- ความเสี่ยงอื่นที่จะทำให้ที่คุณแม่มีอาการรุนแรง เช่นภาวะอ้วน เบาหวาน
- ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ และผลข้างเคียงของวัคซีน
ไม่รู้ว่าตัวเองท้อง แต่ต้องไปฉีดวัคซีน
การศึกษาที่มีบ่งชี้ว่า วัคซีนไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ หรือการตั้งครรภ์ แต่อย่างไรก็ตามควรฉีดวัคซีนโควิด-19 ครั้งที่ 2 หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป
ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้นมบุตรได้หรือไม่
จากการศึกษาพบว่าสารชีววัตถุที่อยู่ในวัคซีนสามารถส่งผ่านจากน้ำนมไปสู่ลูกน้อยได้ แต่จะผ่านการเจือจาง ทำให้มีโอกาสน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลยที่สารเหล่านั้นจะเข้าสู่น้ำนม ดังนั้น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย จึงแนะนำสำหรับคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตร สามารถเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ และไม่ได้มีข้อห้ามในการฉีดวัคซีน และสามารถรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ทุกประเภท และหลังจากการให้รับวัคซีน คุณแม่สามารถให้นมบุตรต่อไปได้เลย โดยไม่ต้องปั๊มนมทิ้ง และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องงดนมแม่
ผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด ต่อ คนท้อง
ผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนของคนท้อง ไม่ต่างจากคนทั่วไปที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ ส่วนมากมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือมีไข้ต่ำ ๆ ซึ่งหากมีไข้หลังฉีดวัคซีนสามารถทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ได้ และหลีกเลี่ยงอย่าให้มีไข้นานเนื่องจากมีผลต่อทารกในครรภ์
คนท้องฉีดวัคซีนของอะไรดี
-
- Sinovac vaccine – เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายผลิตขึ้นมาด้วยวิธีการดั้งเดิมที่มีการใช้มานานแล้ว ในทางทฤษฎี จึงน่าจะปลอดภัย และได้รับการรับรองให้ใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์จากกรมอนามัยของประเทศไทยแล้ว
- Astrazeneca – เป็นวัคซีนที่มีการตัดต่อใส่สารพันธุกรรมของเชื้อ มีโอกาสเกิดไข้หลังฉีด มีรายงานการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหญิงที่อายุน้อยกว่า 30 ปี แต่พบน้อยมาก และมีข่าวบราซิลระงับใช้แอสตร้าเซนเนก้ากับคนท้อง หลังพบเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน
- Pfizer/Moderna – ถูกรับรองให้ฉีดได้ในคนตั้งครรภ์โดยหน่วยงานควบคุมโรคติดต่อของประเทศอเมริกา (CDC) และไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
- Johnson & Johnson – พบการเกิดหลอดเลือดดำอุดตันแต่เกิดได้น้อยมากๆ เพียง 4-5 รายในการฉีด 1 ล้านครั้ง และยังไม่พบภาวะแทรกซ้อนนี้ในคนท้อง
- Sinopharm – ยับยั้งโควิดสายพันธุ์อังกฤษได้ ส่วนโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้มีความสามารถในการยับยั้งลดลง 60% ป้องกันอาการป่วยและเสียชีวิตได้ถึง 79% แต่สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ ยังไม่มีรายงานผลข้างเคียง
- Sputnik V/Novavax/Covaxin – ปัจจุบันยังเป็นวัคซีนที่ห้ามฉีดในผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์
สำหรับคุณแม่ที่ตัดสินใจจะไปฉีดวัคซีน การเตรียมตัวเองให้พร้อมกันการฉีดวัคซีนถือเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม ควรเช็คอาการก่อนฉีด หากกำลังป่วย ร่างกายอ่อนเพลีย หรือมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยง หรือเลื่อนการฉีดไปก่อนน่าจะดีกว่า หรือหากได้รับการฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว ให้นั่งพักดูอาการ 30 นาที หากรู้สึกมีไข้ หรือปวด บวม บริเวณที่ฉีดสามารถทานยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม 1 เม็ดได้ Bride หวังว่าข้อมูลชุดนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับเหล่าคุณแม่ค่ะ