เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย เพราะทำให้ผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูง ไตทำงานผิดปกติ หรือมีอาการอื่น ๆ โดยมักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ หรือบางกรณีอาจเกิดกับอายุครรภ์ที่น้อยกว่า ส่วนใหญ่แล้วมักมีอาการไม่รุนแรง แต่บางคนที่มีอาการรุนแรงอาจเกิดจากความบกพร่องของรกทำให้เป็นอุปสรรคต่อการลำเลียงเลือดและสารอาหารไปยังลูกในครรภ์ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเติบโตของลูกในครรภ์ได้
อาการ ของครรภ์เป็นพิษ
แต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกันออกไป มักไม่ค่อยพบอาการแสดงอย่างชัดเจน หรืออาจมีอาการเล็กน้อยเท่านั้นค่ะ อย่างเช่น
- ความดันโลหิตสูง
- ปวดศีรษะรุนแรง วูบ
- สายตาพร่ามัว
- คลื่นไส้อาเจียน
- ปวดท้องส่วนบน ใต้ลิ้นปี่
- ปริมาณปัสสาวะน้อยผิดปกติ
- เกล็ดเลือดต่ำ
- น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว ร่างกายบวมน้ำ
สาเหตุของครรภ์เป็นพิษ
- ตั้งครรภ์ครั้งแรกมีโอกาสทุกคน
- มีประวัติครรภ์เป็นพิษ
- กรรมพันธุ์
- ตั้งครรภ์ลูกแฝดหรือมากกว่า 2 คน
- มีโรคประจำตัวเรื้อรังก่อนการตั้งครรภ์
- การรับประทานอาหารบางชนิด
- ระบบภูมิคุ้มกันเกิดความผิดปกติ
- มดลูกได้รับเลือดไม่เพียงพอ
- การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการปฏิสนธินอกร่างกาย ก็มีโอกาส
การป้องกันครรภ์เป็นพิษเบื้องต้น
ปัจจุบัน ยังไม่มียาตัวไหนรักษาอาการครรภ์เป็นพิษให้หายได้ แต่มีเพียงวิธีลดความเสี่ยงให้น้อยลงเท่านั้น
- ไปตรวจครรภ์ตามนัดให้สม่ำเสมอ หากมีอะไรผิดปกติจะได้รักษาได้ทัน
- ควบคุมอาหารอย่าตามใจปากมากเกินไป อย่าให้อ้วน
- เลี่ยงอาหารรสเค็ม อาหารไขมันสูง รวมถึงแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
- ออกกำลังการเป็นประจำ วันละ 15-30 นาที
- ดื่นน้ำเปล่ามากๆ 6-8 แก้วต่อวัน
- พักผ่อนให้เพียงพอ