เจ็บไข้ ได้ป่วย จะหายากินตอนกลางคืนแต่ร้านยาก็ปิด หมดปัญหาเหล่านี้หากทุกบ้านเตรียม “กลุ่มยาสามัญประจำบ้าน” ติดเอาไว้ กันไว้ดีกว่าแก้ ยาสามัญประจำบ้าน คือ ตัวยาที่กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาเอาไว้ว่าเป็นยาอันเหมาะสมที่ประชาชนควรซื้อมาไว้ประจำบ้านของตนเอง เพื่อจะเป็นประโยชน์ในการใช้ดูแลตัวเองจากอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน
1.กลุ่มยาเม็ดลดกรดในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืด ขับลม
ยากลุ่มนี้มีทั้งแบบเม็ดและแบบน้ำ แต่ยาชนิดนี้มีข้อควรระวังในผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจ และไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์
2.กลุ่มยาแก้ท้องเสีย
เนื่องจากอากาศร้อนอาจทำให้อาหารเสียได้ง่าย และโรคท้องเสียหรืออาหารเป็นพิษพบการระบาดได้ทั้งปี ดังนั้น จึงควรมียากลุ่มนี้ติดบ้านเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ทัน
3.กลุ่มยาแก้ปวดลดไข้สำหรับบรรเทาอาการปวดศีรษะ หรือมีไข้
– ยาพาราเซตามอล ยาจะไปบรรเทาอาการปวดตามร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว และลดไข้
–พลาสเตอร์บรรเทาอาการปวด ใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ห้ามติดบริเวณเยื่อบุอ่อน ตา และบริเวณที่มีบาดแผล
4.ยาแก้แพ้แก้คัน ลมพิษ ผื่นแพ้ แก้แพ้ลดน้ำมูก
– ยาคลอเฟนิรามีน เป็นยาแก้แพ้ แก้คัน ลดผื่นคัน ลดน้ำมูก แต่อาจทำให้ง่วงนอนได้ หลีกเลี่ยงการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือขับรถ
5.ยาน้ำแก้ไอขับเสมหะ
– ยาแก้ไอน้ำดำ ยานี้ช่วยบรรเทาอาการไอและขับเสมหะ ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ สตรีมีครรภ์ และคนชรา
– ยาจิบแก้ไอมะแว้ง ยานี้ช่วยบรรเทาอาการไอและขับเสมหะ
6.ยาทาผิวหนัง
– ยาคาลาไมด์ แก้ผดผื่นคันของผิวหนัง ผื่นลมพิษ ผื่นแพ้ต่างๆ
7.ยาหม่อง บรรเทาอาการปวด บวม แก้วิงเวียน บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ แก้คัดจมูก
– ยาดมแก้วิงเวียน ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ แก้คัดจมูก
– ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง ช่วยบรรเทาอาการปวด บวมอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย และบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ภาพ : Freepik