ช่วงนี้ทุกๆบ้านต่างต้องปรับตัวให้เหมาะกับสถานการณ์และมาตรการทางสังคม อย่างเช่น ต้องทำงานที่บ้าน เรียนออนไลน์ อยู่บ้านไม่ออกมาท่องเที่ยว แต่ปัญหาของคุณพ่อคุณแม่ก็จะเกิดขึ้นเมื่อลูกหลานอยู่แต่บ้านก็เอาแต่เล่นโทรศัพท์ใช่ไหมค่ะ วันนี้ เรามีเคล็ดลับเกี่ยวกับวิธีการใช้เวลาและสื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับเด็กๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้าน
1.ต้องใช้สื่อให้เหมาะสมกับเด็กๆ
ทุกวันนี้สื่อออนไลน์แทบจะเป็นเหมือนพี่เลี้ยงเด็กของลูกๆคุณไปแล้วใช่ไหมค่ะ แต่สื่อเหล่านั้นจะมีประโยชน์มากขึ้นถ้าคุณพ่อคุณแม่ร่วมใช้สื่อกับลูกๆด้วย สามารถนำสื่อต่างๆที่เลือกดูมาประยุกต์สอนลูกในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งถ้าปล่อยให้ลูกเรียนรู้สื่อด้วยตัวเองนั้น บ้างอย่างเขาอาจจะยังแยกแยะไม่ได้ว่าเรื่องไหนคือเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นได้กับเรา และเรื่องไหนคือเรื่องไม่จริง ผู้ใหญ่สามารถดูไปพร้อมๆกับเด็กๆและอธิบายให้เขาฟังไปด้วย อย่างเช่น หนูเห็นไหมเขาใช้ภาษาเดียวกับเพื่อนๆทุกคนที่โรงเรียน หรือ สิ่งของต่างๆนั้นเอาไว้ทำอะไร ถ้าเราช่วยให้เด็กๆเข้าใจและสนุกไปกับสื่อที่เราเลือกให้และเหมาะสมกับเขา เขาก็จะไม่ต้องหันไปหาสื่อที่ไร้ประโยชน์
- เลือกสื่อที่น่าเชื่อถือและมีคุณภาพ
แทนที่คุณพ่อคุณแม่จะยื่นโทรศัพท์ให้ลูกหรือรีโมทวีทีไปเฉยๆให้เขาไปเลือกดูเองอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่ดีนัก คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกสื่อที่น่าเชื่อถือและมีความรู้แถมสนุกให้เขาได้นะคะ อย่างเช่น Bedtime Math (ซึ่งแสดงให้เห็นต่อทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็ก ๆ ), Measure That Animal (เกม “Sesame Street” ที่เน้นการพัฒนาทักษะการวัดของเด็ก ๆ ) และ D.W.’s Unicorn Adventure (เกมแฟนตาซีที่สอนเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ) เป็นต้น เกมพวกนี้จะทำให้เด็กๆไม่รู้สึกเบื่อและได้รับความรู้โดยอัตโนมัติ รายการและแอพจาก PBS KIDS มาจากการวิจัยการพัฒนาเด็ก การค้นหาบนเว็บไซต์ของพวกเขาช่วยให้คุณสามารถเลือกอายุของเด็กและหัวข้อการค้นหาของสื่อที่เหมาะสมกับเด็กในวัยนั้น ๆได้ด้วยค่ะ

3.เลือกดูสื่อที่สามารถสร้างจินตนาการเพิ่มขึ้นได้
เด็ก ๆ สามารถใช้สื่อได้มากกว่าการดูและเล่น พวกเขาสามารถใช้เทคโนโลยีในวิธีที่สร้างสรรค์และจินตนาการในเรื่องต่าง ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีสามารถสร้างงานศิลปะง่าย ๆ ในรูปแบบของเด็ก ๆ ยังสามารถเล่นดนตรีตามที่เด็กๆชอบได้ตามอิสระ รวมถึงการถ่ายคลิปวีดีโอสร้างผลงาน หรือเป็นเกมเมอร์สร้างอาชีพในอนาคตได้อีกด้วย ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสร้างจิตสำนึกที่ดีโดยการสอนให้ลูกรู้เท่าทันภัยจากสื่อออนไลน์และสื่อดิจิทัล ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ใกล้ตัวและเข้าถึงได้ง่าย
เคล็ดลับที่เราให้ไปอาจจะไม่ได้ง่ายอย่างที่เราคิด ก็อยากให้พ่อแม่ทุกคนพยายามหน่อยนะคะเพื่อลูกๆของเรา หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับทุกคนนะคะ